วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำถาม-คิดโจทย์เอง

บทที่2 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ จำนวน5ข้อ

ข้อ 1
หน้าที่สำคัญที่สุดของการ์ดจอ (VGA Card)  คือข้อใด

      
    ก. ทำให้ภาพปรากฎบนจอภาพ
    ข. ทำให้ภาพและเสียงปรากฎไปพร้อมๆ กัน
    ค. ทำให้ภาพมีสีสันใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด
    ง. ทำให้เห็นภาพที่เป็นภาพยนตร์ได้ชัดเจน

เฉลย ค

ข้อ 2
ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการ์ดจอ (VGA Card)

    ก. การ์ดจอที่มีราคาแพงๆ  จะทำให้คุณภาพของภาพดีด้วยเสมอ
    ข. การ์ดจอทุกยี่ห้อจะถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว
    ค. ผู้ที่ชอบเล่นเกม (Gamer)  จะชอบติดตั้งการ์ดจอคุณภาพดีเสมอ
    ง. การ์ดจอจะติดตั้งบนสล๊อตแบบ PCI

เฉลย ข

ข้อ 3
พอร์ตที่ใช้เสียบแป้นพิมพ์กับเม้าส์มีลักษณะเป็นอย่างไร

    ก. มีลักษณะแตกต่างกันตามชนิดของอุปกรณ์
    ข. มีลักษณะเหมือนกัน  เพราะเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเหมือนกัน
    ค. มีลักษณะเหมือนกัน  แต่มีสีแตกต่างกัน
    ง. มีลักษณะต่างกัน แต่มีสีเดียวกัน คือสีม่วง

เฉลย ข

ข้อ 4
แป้น Function Key (F1-F12) บนแป้นพิมพ์  มีหน้าที่อะไร

      
    ก. เป็นแป้นที่ใช้เป็นคำสั่งสั่งงานบ่อยๆ
    ข. เป็นแป้นที่พิมพ์ตัวอักษรที่ปรากฎอยู่
    ค. เป็นแป้นที่ให้ความสะอวดในการเล่นเกม
    ง. เป็นแป้นที่ใช้ในการคำนวณตัวเลข> 

เฉลย ค

ข้อ 5
เม้าส์แสง (Optical Mouse)  ใช้หลักการในข้อใดทำงาน

      
    ก. ใช้แสงสะท้อนในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่
    ข. ใช้การเคลื่อนไหวกำหนดทิศทาง  ส่วนแสงนั้นเพื่อความสวยงาม
    ค. ใช้สัญญาณวิทยุในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่
    ง. ใช้แสงเลเซอร์ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่

เฉลย ข


บทที่3 ซอฟต์แวร์ จำนวน 5 ข้อ


1. ภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรมมีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิงมีอะไรบ้างจงอธิบาย?
ตอ ใช้แนวคิดในการเขียนโปรแกรมแบบจิตนาภาพ (Visual programing)เพื่อออกแบบโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ

2.โปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้หรือจงอธิบาย?
ตอบ ได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีกตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษานี้ ได้แก่
โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน    เป็นต้น

3.ข้อเสียของอืนเทอร์พรีเตอร์มีที่ไหนบ้างจงอธิบาย?
ตอบ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง
ภาษาบาวงภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น
4. ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นกี่กลุ่มบ้างจงอธิบาย?
ตอบ แบ่งเป็น 3กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มพิมพ์ คำสั่งเข้าทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู และกลุ่มเลือก สัญรูป

5.กลุ่มเลือกรายการเมนูมีข้อดีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องจดจำคำสั่งมาก
เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก




บทที่ 3 ซอฟต์แวร์หรือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1 . ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีกี่อย่าง  อะไรบ้างตอบ  มี 2 อย่าง ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์(Hardware)
       และซอฟต์แวร์(Software)

2.  อะไรถือว่าเป็นหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์
ตอบ  เมนบอร์ด(Mainboard)

3 . AT&T ย่อมากจากคําว่าอะไร
ตอบ  American Telephone and Telegraph

4.เป็นบลูทูธ (ฺblutooth) หมายถึงอะไร
ตอบ เป็นอุปกรณ์ไร้สายที่ช่วยให้อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อต่อกันได้

5.ซอฟต์แวร์ใดเปนซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการแก้ไขปัญหา
ตอบ 1.Microsoft word 2.Microsoft Excell  3.Micrisoft Access

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์



1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น





  







ในตำราบางเล่ม คำว่า ซอฟต์แวร์ระบบ หมายรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย (เช่น คอมไพเลอร์ ลิงเกอร์ หรือดีบักเกอร์ เป็นต้น)
โดยทั่วไปมิได้หมายความว่า ผู้ใช้จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานซอฟต์แวร์ระบบ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น อาจมองว่าซอฟต์แวร์ระบบเป็นสิ่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่มีมากับเครื่องหรือติดตั้งไว้ก่อนแล้ว ในทางตรงข้ามกับซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถกระทำการต่าง ๆ อาทิสร้างเอกสารข้อความ เล่นเกม ฟังเพลง หรือท่องเว็บ เช่นนี้เรียกว่าโปรแกรมประยุกต์
== ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ == ซอฟต์แวร์ระบบช่วยเหลือการใช้งานระบบปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็มีทั้งเครื่องมือวินิจฉัย คอมไพเลอร์ เซิร์ฟเวอร์ ระบบหน้าต่าง โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมสื่อสารข้อมูล ระบบฐานข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย จุดประสงค์ของซอฟต์แวร์ระบบคือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับโปรแกรมประยุกต์โดยโปรแกรมเมอร์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จากรายละเอียดต่าง ๆ ของความซับซ้อนในคอมพิวเตอร์ที่กำลังถูกใช้งาน โดยเฉพาะคุณลักษณะของหน่วยความจำและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ และอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องพิมพ์ เครื่องอ่าน หน่วยแสดงผล แป้นพิมพ์ ฯล


2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

ตัวอย่าง

                                           

 การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย       ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ